การตระหนักรู้ถึงบุคลิกภาพที่ตรงกับรูปแบบการพัฒนางานจะทำให้ท่านเข้าใจถึงความต้องการ ซึ่งเป็นความต้องการที่ตรงกับทิศทางของตน
ต่อไปจะกล่าวถึงการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงงานในแต่ละรูปแบบกับวิธีการพัฒนา เริ่มจากคะแนนสูงสุดที่ท่านได้รับ ถ้าหากท่านได้รับคะแนนสูงสุดมากกว่าหนึ่งรูปแบบ ท่านอาจจะมีวิธีที่มากกว่าหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงงาน อ่านคำอธิบายและข้อเสนอแนะที่ช่วยให้ท่านมีเป้าหมายและช่วยจัดการงานได้ดีขึ้น
บางอย่างอาจจะจัดการกับงานได้ง่ายกว่าบางอย่าง แต่การเปลี่ยนแปลงกับงานทำให้ค้นพบสิ่งที่เหมาะกับความต้องการ เป้าหมาย ค่านิยม และความสนใจของตัวท่านเอง
——————————————————————————-
นักอนุรักษ์ : ทำงานเพื่อโล่
TRADITIONALIST

นักอนุรักษ์สนใจที่จะทำงานในอาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งตลอดชีวิตการทำงาน และมีแนวโน้มที่จะคิดแบบอนุรักษ์นิยม (บางคนอาจกล่าวได้ว่าเป็น “คนยุคเก่า”) นักอนุรักษ์ให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ต่อองค์กร ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์กับองค์กรอาจไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่ให้ความรู้สึกถึงความต่อเนื่อง ความสะดวก และความมั่นใจต่อคนกลุ่มนี้ การจากองค์กรไปอาจทำให้เกิดความเครียด งานสำหรับคนกลุ่มนี้เป็นแหล่งของความพึงพอใจ เป็นเอกลักษณที่ทำให้คนกลุ่มนี้อยากจะรักษาไว้ นักอนุรักษ์สนใจในเรื่องของการเติบโตในงานตามลำดับขั้น และประสบความสำเร็จขั้นสูงในสิ่งที่เขาเลือก
จุดแข็งของนักอนุรักษ์
- นักอนุรักษ์เชื่อว่างานช่วยให้ได้ทุกสิ่งที่ต้องการ
- นักอนุรักษ์มีความรู้สึกผูกพันกับงานและองค์กรของตนเองอย่างยิ่ง
- นักอนุรักษ์รู้สึกกระตือรือร้นและมีจรรยาบรรณต่องานที่ทำอย่างยิ่งยวด
- นักอนุรักษ์มักจะยกย่องต่อทักษะในการทำงานที่ทำให้ตนทำงานกับผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานได้เป็นอย่างดี
- นักอนุรักษ์เข้าใจถึงค่านิยมถึงการเลื่อนลำดับชั้นในองค์กร และมองหาวิธีในการได้รับการยอมรับและสนใจจากองค์กร
จุดอ่อนของนักอนุรักษ์
- นักอนุรักษ์สูญเสียโอกาสในการไปจากองค์กร เพราะมีความจงรักภักดีในองค์กรปัจจุบัน
- นักอนุรักษ์มักจะอยู่ในขั้นตอนของการปฏิเสธต่อการเปลี่ยนแปลงงานเมื่อเผชิญกับภาวะกดดันของการเปลี่ยนแปลง
- นักอนุรักษ์ได้รับทุกสิ่งที่ต้องการจากการทำงาน ดังนั้นจึงให้ความสำคัญกับงานเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งทำให้ละเลยกับมิติอื่น ๆ ของชีวิต
- นักอนุรักษ์เมื่อเผชิญกับการสูญเสียงานมักจะเผชิญกับความยากลำบากในการปรับตัวและความยากต่อการหาโอกาสในการทำงานใหม่ ๆ
ยุทธวิธีในการพัฒนา
เมื่อนักอนุรักษ์เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงงานต้องหันมาสนใจกับความต้องการ และค่านิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะหากมีเป้าหมายในการหางานจากองค์กรใดองค์กรหนึ่ง อาชีพใดอาชีพหนึ่งจำเป็นต้องรักในสิ่งที่ทำ และงานนั้นจะทำให้ได้รับในสิ่งที่ท่านต้องการ ทั้งโอกาสการเติบโตในการทำงาน และงานนั้นยังคงท้าทายสำหรับท่าน ถ้าท่านอยู่ในช่วงการตกงาน หรือเผชิญกับสถานการณ์ที่กำลังตกงาน อย่ากลัวที่จะต่อสู้เพื่องานของท่าน ถ้าท่านต้องการเปลี่ยนงาน จงหาองค์กรที่เติบโต มีประวัติที่มั่นคง และเปิดโอกาสสำหรับการพัฒนา จงใช้เวลาค่อย ๆ พิจารณาในการตัดสินใจเลือกองค์กรที่ท่านจะทำงานด้วย
———————————————————————–
นักเปลี่ยนแปลง : ทำงานเพื่อเล่น
CATALYST

นักเปลี่ยนแปลงคือผู้ที่ใช้งานไปสู่วิธีที่จะมีความสุขและเติมเต็มให้กับเป้าหมายของชีวิต มองหาวิธีหลากหลายที่หาทางให้มีความพึงพอใจในชีวิต คนกลุ่มนี้จะทำงานและมีกิจกรรมที่หลากหลายที่จะทำให้ตัวเองมีความสุข ถ้ามีเวลาว่างก็จะมีกิจกรรมให้ทำอยู่เสมอ หรือเมื่อไม่ได้ทำกิจกรรมอย่างหนึ่งก็สามารถทำอย่างหนึ่งแทนที่ ดังนั้นนักเปลี่ยนแปลงจะไม่กลัวการเปลี่ยนแปลงงาน ถึงแม้ว่านักเปลี่ยนแปลงจะมีรายได้การทำงานมั่นคง คนกลุ่มนี้มักจะไม่ยึดติดกับงาน ซึ่งแตกต่างจากนักอนุรักษ์ นักเปลี่ยนแปลงรักษางานเพื่อให้ทำกิจกรรมใหม่ ๆ สิ่งที่ตื่นเต้นและสนุก ๆ คนกลุ่มนี้มักจะทำงานน้อยกว่าคนอื่นและยินดีที่จะมีเวลามากขึ้นโดยที่ได้รับเงินน้อยลง เพราะว่ามีความสนใจที่หลากหลาย การทำงานไม่ใช่ความสำคัญลำดับต้น ๆ ของชีวิต
จุดแข็งของนักเปลี่ยนแปลง
- นักเปลี่ยนแปลงตระหนักถึงความสำคัญของความสนใจของตัวเองและอาชีพ
- นักเปลี่ยนแปลงมองว่ากิจกรรมยามว่างเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจในชีวิต
- นักเปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มให้ความสนใจต่อการเติบโตและพัฒนาตนเอง มองความสำเร็จในเรื่องของการสั่งสมประสบการณ์
- นักเปลี่ยนแปลงสนุกกับงานและมุ่งมั่นในบริบทอื่น ๆ ที่ทำให้เขาพึงพอใจมากกว่าตัวงาน
จุดอ่อนของนักเปลี่ยนแปลง
- นักเปลี่ยนแปลงให้ความสนใจหลากหลาย ดังนั้นจึงมักจะไม่ลงลึกในสิ่งที่ตัวเองควรจะมี
- นักเปลี่ยนแปลงสนใจกิจกรรมยามว่างซึ่งมีผลต่อการทำงาน ทำให้มักจะเลยต่อโอกาสที่ท้าทายในงาน และมีโอกาสน้อยที่จะเลื่อนระดับในองค์กร
- นักเปลี่ยนแปลงกระตือรือร้นต่อการปลี่ยนแปลงงานในชีวิต มองโอกาสการเปลี่ยนแปลงเป็นการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ อาชีพใหม่ ๆ และโอกาสใหม่ ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่มั่นคง
ยุทธวิธีในการพัฒนา
เมื่อนักเปลี่ยนแปลงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพ จึงต้องวางแผนวิถีชีวิต โดยคำนึงถึงประเด็นต่าง ๆ ทั้งเรื่องงาน กิจกรรมยามว่าง ความสนใจทางการเรียนรู้ นักเปลี่ยนแปลงจะมีความสนใจกิจกรรมยามว่างที่หลากหลาย ทำให้เข้าใจความหมายและจุดประสงค์ของการทำงาน มีความอดทนสำหรับการค้นหางานที่ต้องการที่ทำให้เขาได้รักษาสมดุลระหว่างงานและกิจกรรมยามว่าง
————————————————————————
นักโยกย้าย : แสวงหาความพึงพอใจในแต่ละช่วงเวลา
JOB JUMPER

นักอนุรักษ์สนใจที่จะทำงานในอาชีพใดอาชีพหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งตลอดชีวิต การทำงาน และมีแนวโน้มที่จะคิดแบบอนุรักษ์นิยม (บางคนอาจกล่าวได้ว่าเป็น “คนยุคเก่า”) นักอนุรักษ์ให้ความสำคัญกับความซื่อสัตย์ต่อองค์กร ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์กับองค์กรอาจไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่ให้ความรู้สึกถึงความต่อเนื่อง ความสะดวก และความมั่นใจต่อคนกลุ่มนี้ การจากองค์กรไปอาจทำให้เกิดความเครียด งานสำหรับคนกลุ่มนี้เป็นแหล่งของความพึงพอใจ เป็นเอกลักษณที่ทำให้คนกลุ่มนี้อยากจะรักษาไว้ นักอนุรักษ์สนใจในเรื่องของการเติบโตในงานตามลำดับขั้น และประสบความสำเร็จขั้นสูงในสิ่งที่เขาเลือก
จุดแข็งของนักโยกย้าย
- นักโยกย้ายมีความรู้และประสบการณ์มากมายที่ได้จากองค์กรต่าง ๆ มักใช้ความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และแผนยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ ได้ในองค์กร
- นักโยกย้ายมีเครือข่าย รู้จักคนเยอะซึ่งจะสามารถสร้างเครือข่ายและตระหนักถึงโอกาสที่จะหางานได้มากมาย
- นักโยกย้ายเชื่อในเรื่องของความสนุกในการทำงาน จะใช้เวลาเยอะกับการพบปะผู้คนที่เป็นแหล่งของงานสำหรับเขา
- นักโยกย้ายไม่เคยปล่อยให้ตนเองเบื่อ เพราะไม่ได้อยู่นิ่ง ๆ ในงานโดยเฉพาะงานที่ไม่ดี หากรู้ว่างานนั้นไม่ดี ไม่เหมาะกับตนเอง นักโยกย้ายจะหางานอื่นทันที
จุดอ่อนของนักโยกย้าย
- นักโยกย้ายเป็นคนที่ดูไม่แน่นอนและไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งนายจ้างมักคิดเช่นนั้นด้วย
- นักโยกย้ายสนใจในการพบปะผู้คนและสร้างเครือข่าย มักทำให้ไม่สามารถทำงานของตนที่มีอยู่ให้ดีได้
- นักโยกย้ายมักไม่มีความจงรักภักดีต่อองค์กร ไม่ได้คิดว่าต้องอยู่กับองค์กรตลอดไป ไม่ได้คิดว่าองค์กรหรือนายจ้างจะเข้าใจสิ่งที่เขาสนใจ ดังนั้นเขาจึงสนใจทำในสิ่งที่เขาสามารถทำได้ในงานเพื่อมองหาสิ่งอื่นต่อไป
ยุทธวิธีในการพัฒนา
นักโยกย้ายมองเห็นการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพเป็นโอกาสในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพราะคุ้นเคย
กับสถานการณ์เหล่านี้
————————————————————————
นักแสวงหาโอกาส : พร้อมสำหรับทุกสิ่งที่จะเผชิญ
OPPORTUNIST

นักแสวงหาโอกาสมีความเป็นจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการในงาน ชอบเสี่ยง และเป็นนักนวัตกรรม นักแสวงหาโอกาสเป็นผู้ที่มุ่งมั่นต่อเป้าหมายและมักตื่นเต้นต่อโอกาสทางธุรกิจ ใส่ใจในการพัฒนาทักษะเพื่อหาวิธีที่จะใช้ทักษะเหล่านั้นในกิจการใหม่ ๆ นักแสวงหาโอกาสเต็มใจที่จะเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ ใช้เวลาและความพยายามเพื่อจะสร้างธุรกิจใหม่ ๆ จากจุดเริ่มต้น ถ้าได้รับรางวัลหรือสิ่งตอบแทนมากพอ คนกลุ่มนี้จะมีลักษณะชอบการแข่งขันสูง ทำงานหนักเพื่อประสบความสำเร็จทางธุรกิจ
นักแสวงหาโอกาสมองการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพเป็นโอกาสในการหาเงินให้มากขึ้น เป็นโอกาสในการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ได้รับชื่อเสียงและการยอมรับมากขึ้น หรือเป็นการสร้างธุรกิจของตัวเอง มีความสามารถของการหยั่งรู้เมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง มีแผนสำรองอยู่เสมอ ดังนั้นคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าคนอื่น ๆ และมองการเปลี่ยนแปลงในฐานะโอกาสของการเติบโต
จุดแข็งของนักแสวงหาโอกาส
- นักแสวงหาโอกาสมีพรสวรรค์ในการระบุถึงการเติบโตทางหน้าที่การงาน ไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กรของตนเอง องค์กรคู่แข่ง หรือธุรกิจ Start Up ของตนเอง
- นักแสวงหาโอกาสเห็นความท้าทายในการทำสิ่งใหม่ ๆ หรือสิ่งที่แตกต่าง
- นักแสวงหาโอกาสสามารถเห็นความเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ มีความไวต่อโอกาสในองค์กรว่าเมื่อไร และทำอย่างไรให้นำไปสู่การเติบโตทางธุรกิจ และการเติบโตส่วนตัว
- นักแสวงหาโอกาสไม่กลัวที่จะเสี่ยง อย่างไรก็ตามมีความฉลาดพอที่จะเตรียมแผนฉุกเฉินสำรองไว้
จุดอ่อนของนักเปลี่ยนแปลง
- นักแสวงหาโอกาสอยู่ในโลกของอนาคต ใช้เวลามากในการมองหาโอกาสใหม่ ๆ ทำให้พบกับความยากลำบากในการทำงานปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นักแสวงหาโอกาสสามารถเสี่ยงได้มากมาย แต่มักคิดหรือคำนวณความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงงานได้ไม่ครอบคลุม
- นักแสวงหาโอกาสมักมองเนื้องานอย่างไม่รอบคอบ ทำให้สูญเสียรางวัลหรือโอกาสที่จะได้ในงานปัจจุบัน
ยุทธวิธีในการพัฒนา
นักแสวงหาโอกาสเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงงาน ต้องเปิดรับเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ ๆ มองเรื่องการเปลี่ยนแปลงงานเป็นโอกาสในการพัฒนาทักษะ ก้าวไปข้างหน้าในอุตสาหกรรม หรือเริ่มธุรกิจของตนเอง เป็นโอกาสสำหรับการคิด การเปลี่ยนแปลงงานในฐานะความท้าทายส่วนบุคคล
————————————————————————
รูปแบบการจัดการงานแบบใดดีที่สุด
ทุกคนต่างมีคำตอบเป็นแบบที่ตัวเองชอบ คำตอบอาจแตกต่างตามเจเนอเรชั่น (เบบี้บูมเมอร์มีแนวโน้มเป็นนักอนุรักษ์) แตกต่างไปตามความสนใจ (ผู้ที่ชอบสนุกสนาน มีบุคลิกภาพแบบศิลปิน มักมีแนวโน้มเป็นนักเปลี่ยนแปลง) ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีตและสภาพการณ์ปัจจุบัน (เป็นการยากที่เป็นนักอนุรักษ์ เมื่อท่านถูกปลดจากงาน 3 ที่จากการปรับเปลี่ยนองค์กร หรือผู้ที่เป็นนักโยกย้ายเมื่อท่านมีลูกที่ต้องการความสม่ำเสมอ คงที่) แต่ในโลกของเศรษฐกิจปัจจุบันมันสามารถเป็นได้ในทุกรูปแบบ ไม่มีแบบใดดีกว่าแบบใด ท่านสามารถเป็นได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบ คำถามไม่ใช่ว่ารูปแบบใดดีที่สุด แต่คำถามคือรูปแบบใดดีที่สุดสำหรับท่าน ในการประเมินช่วยให้ท่านระบุว่าการพัฒนาอาชีพแบบใดเป็นบุคคลิกภาพของท่าน ไม่ใช่เป็นการบอกว่าคะแนนที่สูงที่สุดเป็นรูปแบบที่ท่านควรนำมาใช้ เพียงแต่แสดงว่านี่คือธรรมชาติของท่าน ไม่ได้หมายความว่านักโยกย้ายจะไม่เปลี่ยนเป็นนักอนุรักษ์อย่างรวดเร็วถ้าเขาได้มาอยู่ในงานที่เหมาะสมและถูกใจกับเขาแล้ว นักแสวงหาโอกาสค้นพบความสนใจในอาชีพช่างภาพจากกิจกรรมยามว่าง แล้วหลงรักการถ่ายภาพ ก็จะไม่ทำให้เขากลายเป็นนักเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของคนเราทั้งในเรื่องของความชอบส่วนบุคคล เป้าหมาย ค่านิยม และความสนใจ มีได้ตลอดเวลา ฉะนั้น หัวใจของความสำเร็จในการจัดการทางด้านอาชีพ ท่านต้องเข้าใจว่าท่านเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน อะไรคือสิ่งที่เราอยากทำมากที่สุด การเข้าใจถึงรูปแบบของการพัฒนาอาชีพเป็นเพียงความเข้าใจขั้นแรกในการเรียนรู้ตนเอง
สรุป
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับเราทุกคน คนเราปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน การเปลี่ยนแปลงบังคับให้เราต้องพัฒนาและเพิ่มความสามารถในการปรับบุคลิกภาพสู่การเป็นมืออาชีพ จุดประสงค์ในการประเมินครั้งนี้เพื่อช่วยให้ท่านเข้าใจตนเองดีขึ้น และวิถีของการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพที่ท่านต้องจัดการ
การเปลี่ยนแปลงนั้นจำเป็นต้องใช้ความยืดหยุ่นและเต็มใจต่อการทดลองค้นหาสิ่งใหม่ ๆ ในการทำสิ่งต่าง ๆ ท่านได้เรียนรู้ว่าท่านตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางอาชีพอย่างไร ท่านพร้อมที่ก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงตนเองในขั้นต่อไป ซึ่งจะช่วยให้ท่านค้นหาอาชีพ เรียนรู้เกี่ยวกับงาน และค้นหาความสำเร็จในงานนั้น โปรดจำไว้ว่าควรประเมินตนเองอย่างซื่อสัตย์ หัวใจของความสำเร็จในการพัฒนาอาชีพนั้นคือการรู้ว่าท่านคือใคร มีจุดยืนอย่างไร และต้องการจะเป็นอย่างไร